กิจกรรมที่5 โครงร่างโครงงาน

โครงงานคอมพิวเตอร์

เรื่อง...ปัญหาน้ำเน่าเสียในประเทศไทย

บทที่ 1

บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ปัจจุบันโลกของเรามีการพัฒนาเป็นอย่างมากซึ่งมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์นั้นมักจะมาควบคู่กับการทำลายธรรมชาติ เพื่อแลกกับการตอบสนองความต้องการมนุษย์ เพื่อความสะดวกสบาย แต่มนุษย์ก็ยังละเลย และลืมว่าธรรมชาตินั้นก็สำคัญกับตัวเราเป็นอย่างมาก เพราะธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์เป็นอาหาร ยา อากาศ ต่างๆ ดังนั้น ดิฉันอยากให้ทุกคนเข้าใจในธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติอย่างสันติ โดยไม่ทำลายหรือทำให้เสียหายไปมากกว่านี้
ปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นหนึ่งในผลกระทบของการพัฒนา เนื่งจากหลายปัจจันทั้งปัจจัยจากอดีตสะสมมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยการพัฒนาในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดปัญหาทำให้เราได้ตระหนักถึงปัญหา และช่วยกันร่วมแก้ปัญหา หรือป้องกันไม่ให้ปัญหามีมากไปกว่านี้



วัตถุประสงค์
                1. เป็นแหล่งให้ความรู้กับผู้ที่สนใจศึกษา
            2.ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่ง
            3.เป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์
            4.เป็นความรู้สำหรับบุคคลที่สนใจในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาน้ำเน่าเสียในประเทศไทย  ค้นคว้าเพิ่มเติมและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.ทำให้ผู้คนเห็นตระหนักถึงปัญหาน้ำเน่าเสีย
            2.ทำให้ทุกคนช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหา
            3.ทำให้ผู้ที่ช่วยกันรณรงค์เรื่องน้ำเน่ามากยิ่งขึ้น



บทที่ 2

เอกสารอ้างอิง

    สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะแก่แม่น้ำคลอง
1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ
ชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลาย ๆ หลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่น ๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมาณส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา
2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำทิ้งจากระบบการผลิต ระบบการหล่อเย็น อาคารที่อยู่อาศัยและที่ทำการ ร้านค้าและโรงอาหารสารที่ปะปนมาอาจจะเป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ กรดด่าง โลหะหนัก สารเคมีต่าง ๆ สารกัมมันตภาพรังสี สารพิษ ดินทรายและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ซึ่งเมื่อทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เพิ่มปริมาณสารเหล่านั้นหรือเกิดการเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดการเน่าเหม็น เกิดสี กลิ่น และความไม่น่าดู
3. ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร
ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่ สารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปของฟอสเฟตสามารถยึดติดอยู่กับดินได้ จึงมีส่วนน้อยที่ไหลไปกับน้ำ ดังนั้นสารที่ทำให้เกิดปัญหาคือไนโตรเจน การใช้ปุ๋ยส่วนใหญ่มักใส่กันมากเกินกว่าที่พืชจะนำไปใช้ได้หมด เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะเอาไนโตรเจนไหลไปตามผิวดิน
4. ผิวดินที่พังทลาย
ในพื้นที่รับน้ำบางแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำที่เสื่อมสภาพและมีการพังทลายของหน้าดิน จะทำให้น้ำมีความขุ่นสูง เกิดสี กลิ่น และรสได้
การพังทลายของหน้าดิน ทำให้เกิดมลภาวะต่อแม่น้ำลำคลองได้

5. การเลี้ยงปศุสัตว์
การเลี้ยงปศุสัตว์ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินหญ้าที่คลุมหน้าดินมากเกินไปจะทำให้หน้าดินถูกน้ำกัดเซาะเมื่อฝนตก และเมื่อไหลลงในแหล่งรับน้ำก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ 4 นอกจากนี้มูลสัตว์ก็จะไหลลงไปในลำน้ำทำให้มีสารอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูง เกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 3
6. ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช
ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชส่วนมากเป็นสารเคมีที่บางครั้งก็เป็นสารมีพิษ เมื่อถูกชะล้างลงไปในน้ำ ก็จะเป็นพิษแก่พืชและสัตว์ที่อยู่ในน้ำ หากเรานำน้ำไปใช้ก็จะได้รับอันตรายจากสารพิษนั้นด้วย
7. ไฟป่า
ถ้าเกิดไฟป่าในบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดน้ำจะทำให้มีขยะ เถ้าถ่าน ตะกอนทราย รวมทั้งสารมลพิษต่าง ๆ ไหลลงไปในแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพของน้ำที่นำไปใช้สอย อีกทั้งอาจจะทำให้อ่างเก็บน้ำหรือแม่น้ำตื้นเขินเนื่องจากการสะสมของเถ้าถ่านและตะกอนต่าง ๆ
น้ำที่ชะล้างบริเวณที่เกิดไฟป่า จะมีขยะและสารมลพิษปะปน ทำให้น้ำตื้นเขิน
8. การใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม
การใช้ที่ดินสองข้างหรือรอบ ๆ แหล่งน้ำที่ขาดการควบคุมหรือการกำหนด จะทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของน้ำได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดเขตหรือห้ามการขยายชุมชนหรือการตั้งโรงงานตามริมน้ำที่นำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการทำประปา
         การแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาน้ำเสียมีทั้งมาตรการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การบำบัด การกำจัดหรือหมุนเวียนของเสียต่าง ๆ จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแสวงหาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีมาตรการทางกฎหมาย ข้อบังคับมาตรฐานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งองค์กร และการใช้อำนาจทางการบริหารเข้าเสริมในการป้องกันแก้ไข การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขที่ใช้มาตรการทั้งทางกฎหมาย ทางการบริหาร และทางเทคโนโลยีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษต่าง ๆ
เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ป้องกันมิให้น้ำเน่าเสีย
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มที่ 15
  [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/subwater1/why.htm (20 ธันวาคม 2559)



                        

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
1. ตั้งหัวข้อที่ต้องการศึกษา
2. นำหัวข้อมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูล
3. สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
4. นำข้อมูลที่ได้มาอ่านทำความเข้าใจ
5.  ประเมินความถูกต้องและความครบถ้วนของเนื้อหา
6. หาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ
7. นำข้อมูลจากหลายๆแหล่งที่มา มารวบรวมและสรุปออกมาเป็นเนื้อความเดียวกัน

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. คอมพิวเตอร์
2. หนังสือ
3.เครื่องเขียน

งบประมาณ

ไม่มีงบประมาณในการศึกษาข้อมูลและทำโครงงาน

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน
     การแก้ปัญหาน้ำเสียมีทั้งมาตรการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การบำบัด การกำจัดหรือหมุนเวียนของเสียต่าง ๆ จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแสวงหาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีมาตรการทางกฎหมาย ข้อบังคับมาตรฐานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งองค์กร และการใช้อำนาจทางการบริหารเข้าเสริมในการป้องกันแก้ไข การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขที่ใช้มาตรการทั้งทางกฎหมาย ทางการบริหาร และทางเทคโนโลยีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียและมลพิษต่าง ๆ

เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ป้องกันมิให้น้ำเน่าเสีย

บทที่ 5

สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานปัญหาน้ำเน่าเสียในประเทศไทย เว็บบล็อกด้วย blogger สามารถสรุปได้ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
5.1.2 เพื่อศึกษาและสร้างเว็บบล็อก
5.1.3เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.1.4 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.blogger.com

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว ได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ www.blogger.com  จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานพัฒนาเกมเว็บบล็อกด้วย blogger สามรถสรุปได้ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
5.1.2 เพื่อศึกษาและสร้างเว็บบล็อก
5.1.3เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.1.4 เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ  www.blogger.com

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน

ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว ได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ www.blogger.com จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้นำไปเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ 606_2560_Panutda _17 และ 606_2560_sirinun_36


cr http://hq.prd.go.th/PRTechnicalDM/ewt_news.php?nid=1907&filename=index


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กิจกรรมที4 ขั้นตอนของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ใบงานที่3 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560